วิธีป้องกันการคีลอยด์
1.ล้างแผลให้สะอาด
2.ล้างแผลด้วยน้ำเกลือหรือแอลกอฮอล์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
3.หากเป็นแผลเย็บต้องตัดไหมตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด
วิธีการรักษาคีลอยด์
การรักษารอยแผลคีลอยด์ในปัจจุบัน มีหลากหลายวิธีที่จะช่วยลดขนาดแผลเป็นคีลอยด์ให้เล็กลงได้ อย่างไรก็ตามการรักษาขึ้นอยู่กับลักษณะแผลคีลอยด์ด้วย แพทย์จะพิจารณาวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามความเหมาะสม โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.รักษาคีลอยด์ด้วยการนวด วิธีการสามารถรักษาได้จากที่บ้าน โดยการนวดด้วยนิ้วโป้งเบาๆที่คีลอยด์ พร้อมกับทาผลิตภัณฑ์รักษาแผลเป็นคีลอยด์ไปด้วยพร้อมกัน จนกว่าจะจางลง
2.รักษาคีลอยด์ด้วยซิลิโคน ทำให้คีลอยด์ยุบตัวง่ายขึ้น พร้อมทั้งช่วยลดการสร้างคอลลาเจนรอบแผลให้น้อยลง และยังลดอาการคันและระคายเคืองได้ ปัจจุบันใช้ซิลิโคนรักษาคีลอยด์ 2 รูปแบบ คือ แผ่นซิลิโคน และเจลซิลิโคน
3.รักษาคีลอยด์ด้วยวิธีฉีดยาสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์เลียนแบบสารสเตียรอยด์ที่ร่างกายผลิตขึ้น วิธีนี้แพทย์จะฉีดเข้าไปตรงบริเวณแผลคีลอยด์ทุกๆ 4-6 สัปดาห์ จะช่วยให้คีลอยด์นุ่มและเล็กลงได้
4.รักษาคีลอยด์ด้วยการผ่าตัด โดยการผ่าตัดคีลอยด์สามารถผ่าออกแค่บางส่วนเพื่อลดขนาดหรือผ่าตัดออกทั้งชิ้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ และจะต้องใช้วิธีอื่นข้างต้นรักษาร่วมด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นแผลคีลอยด์ซ้ำเดิมอีก ไม่ว่าจะเป็นการฉีดยาสเตียรอยด์ หรือการแปะแผ่นซิลิโคน