IV Vitamin therapy for whitening skin, Slimming Treatment Chiang Mai

Facebook Instagram THA | CHA

คีลอยด์อาจไม่ได้อันตราย แต่หากมีอาการคัน หรือเจ็บและมีขนาดใหญ่ขึ้นต้องรีบรักษาก่อนที่จะสายเกินแก้!


คีลอยด์อาจไม่ได้อันตราย แต่หากมีอาการคัน หรือเจ็บและมีขนาดใหญ่ขึ้นต้องรีบรักษาก่อนที่จะสายเกินแก้!

คีลอยด์เป็นผลจากความผิดปกติของกระบวนรักษาแผลตามธรรมชาติของร่างกาย โดยปกติเมื่อผิวหนังได้รับความเสียหายหรือเป็นแผลจะมีการสร้างเนื้อเยื่อและคอลลาเจนขึ้นมาซ่อมแซมบริเวณดังกล่าวจนหายดี แต่หากกระบวนการนี้ทำงานมากเกินไปจะทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งแผลเป็นส่วนใหญ่มักค่อย ๆ แผลคีลอยด์ก่อตัวขึ้นหลังจากได้รับบาดแผลใด ๆ บริเวณผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็นแผลผ่าตัด แผลจากการเจาะตามร่างกาย แผลไหม้ แผลจากโรคอีสุกอีใส สิว หรือในบางคนแม้แต่แผลขีดข่วนเล็กน้อยก็ยังทิ้งร่องรอยในลักษณะของแผลเป็นชนิดนี้ได้ 

การรักษาคีลอยด์

1.การฉีดคอร์ติโซนสเตียรอยด์ เป็นวิธีการรักษาที่ปลอดภัยและไม่เจ็บมาก โดยจะฉีดสเตียรอยด์ชนิดนี้เข้าที่แผลเป็นให้ทุก ๆ 4-8 สัปดาห์เพื่อช่วยให้คีลอยด์ยุบตัวลง แต่อาจมีผลข้างเคียงทำให้แผลเป็นแดงขึ้นได้เช่นกัน 

2.การผ่าตัด เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษาคีลอยด์ โดยการผ่าเอาผิวหนังบริเวณที่เป็นคีลอยด์ออกไป และแพทย์มักใช้วิธีอื่นร่วมรักษาด้วยหลังจากผ่าตัดแล้ว เช่น การใช้แผ่นผ้าแปะกดหรือแผ่นเจลซิลิโคนปิดบนแผลวันละ 12-24 ชั่วโมง เป็นระยะเวลาหลายเดือน การฉีดสเตียรอยด์ การฉายรังสี นอกจากนี้ การเย็บแผลหลังผ่าตัดให้น้อยเข็มที่สุดเท่าที่จะทำได้ก็อาจช่วยให้โอกาสในการเกิดแผลเป็นลดลงได้เช่นกัน

3.การเลเซอร์ เป็นการใช้เลเซอร์ชนิดที่มีความอ่อนโยนต่อผิว (Pulsed Dye Lasers) ซึ่งจะช่วยให้แผลเป็นคีลอยด์เรียบแบนและแดงน้อยลงได้ ทั้งยังเป็นการรักษาที่ปลอดภัยและไม่ทำให้เจ็บมาก แต่อาจต้องทำหลาย ๆ ครั้ง และมีราคาค่อนข้างแพง

4.การรักษาด้วยความเย็นจัด ใช้กับแผลขนาดเล็ก โดยเป็นการให้คีลอยด์ได้สัมผัสกับความเย็นสูงจากไนโตรเจนเหลว การรักษาวิธีนี้อาจใช้วิธีอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น การฉีดสเตียรอยด์ การใช้ความเย็นจัดจะช่วยให้คีลอยด์แบนเรียบลงได้ และหากเริ่มรักษาตั้งแต่ระยะแรก ๆ มีโอกาสหยุดการเติบโตของคีลอยด์  อย่างไรก็ตาม วิธีนี้มีผลข้างเคียง คือ อาจทำให้ผิวหนังบริเวณที่รักษามีสีเข้มขึ้นหรืออ่อนลงได้

โปรแกรมการรักษาคีลอยด์