จี้ไฝ ติ่งเนื้อ รักษาฝ้า กระ หูด พรีมาดอนนาคลินิก เชียงใหม่

Facebook Instagram

ลดและป้องกันรอยคีลอยด์กับพรีมาดอนน่าคลินิก เชียงใหม่


ลดและป้องกันรอยคีลอยด์กับพรีมาดอนน่าคลินิก

ลดและป้องกันรอยคีลอยด์กับพรีมาดอนน่าคลินิก

 

ลดและป้องกันรอยคีลอยด์กับพรีมาดอนน่าคลินิก

 

   คีลอยด์ คือ แผลเป็นชนิดหนึ่งที่มีลักษณะนูนและขนาดอาจขยายใหญ่กว่ารอยแผลที่เกิดขึ้น โดยอาจเกิดขึ้นทันทีที่แผลหายหรือหลังจากแผลหายดีสักพักแล้ว แม้จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แต่ก็อาจทำให้รู้สึกเจ็บ คัน ระคายเคือง หรือส่งผลด้านความสวยความงามได้

อาการของคีลอยด์

   คีลอยด์สามารถเกิดขึ้นที่บนร่างกายบริเวณใดก็ตาม แต่ส่วนที่มีแนวโน้มการเกิดคีลอยด์มากกว่าบริเวณอื่น ๆ ได้แก่ หน้าอก หัวไหล่ หลัง ลำคอ และติ่งหู โดยอาจมีลักษณะที่สังเกตได้ดังต่อไปนี้

  • เป็นก้อนนูนขึ้นมาจากผิวหนัง โดยจะขยายขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป
  • ลักษณะเป็นมันเงา ไม่มีขนขึ้นบนคีลอยด์
  • ในช่วงแรกอาจมีสีแดงหรือม่วง ก่อนที่จะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีคล้ำหรือซีดลง
  • เมื่อสัมผัสแล้วรู้สึกแข็ง คล้ายยาง
  • ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ แต่บางคนก็อาจมีอาการเจ็บ ฟกช้ำ คัน แสบร้อน หรือส่งผลให้เคลื่อนไหวลำบากได้หากเป็นบริเวณข้อต่อ
  • เมื่อสัมผัสหรือเสียดสีกับเสื้อผ้าอาจเกิดความระคายเคือง คัน หรือรู้สึกเจ็บ
  • คีลอยด์อาจคงอยู่เป็นเวลาหลายปี และบางครั้งก็ใช้เวลานานเป็นเดือนหรือเป็นปีกว่าจะก่อตัวขึ้นมา
  • เมื่อถูกแสงแดดอาจมีสีคล้ำลงกว่าผิวบริเวณรอบ ๆ และเป็นไปได้ว่าสีคล้ำอาจไม่หายไป

สาเหตุของคีลอยด์

   คีลอยด์เป็นผลจากความผิดปกติของกระบวนรักษาแผลตามธรรมชาติของร่างกาย โดยปกติเมื่อผิวหนังได้รับความเสียหายหรือเป็นแผลจะมีการสร้างเนื้อเยื่อและคอลลาเจนขึ้นมาซ่อมแซมบริเวณดังกล่าวจนหายดี แต่หากกระบวนการนี้ทำงานมากเกินไปจะทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งแผลเป็นส่วนใหญ่มักค่อย ๆ ยุบจางลงเมื่อเวลาผ่านไป ทว่าแผลเป็นชนิดคีลอยด์นั้นจะมีขนาดใหญ่และนูนขึ้นกว่ารอยแผลเดิม

   แผลคีลอยด์ก่อตัวขึ้นหลังจากได้รับบาดแผลใด ๆ บริเวณผิวหนัง ไม่ว่าจะเป็นแผลผ่าตัด แผลจากการเจาะตามร่างกาย แผลไหม้ แผลจากโรคอีสุกอีใส สิว หรือในบางคนแม้แต่แผลขีดข่วนเล็กน้อยก็ยังทิ้งร่องรอยในลักษณะของแผลเป็นชนิดนี้ได้ แต่คีลอยด์ที่เกิดขึ้นหลังจากการได้รับบาดเจ็บเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้นใช้เวลานานหลายปีกว่าจะพัฒนาขึ้น นอกจากนี้ บางครั้งยังพบว่าคีลอยด์เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติที่กลางหน้าอก แม้ไม่เคยได้รับบาดเจ็บหรือมีแผลบริเวณนั้นมาก่อนก็ตาม

   ทั้งนี้ คีลอยด์เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ผู้ที่มีอายุอยู่ในช่วง 10-30 ปี มีแนวโน้มที่จะเป็นได้มากกว่า และเชื่อว่าอาจมีปัจจัยด้านพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยกว่าครึ่งของผู้ที่เกิดแผลเป็นชนิดคีลอยด์มีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นคีลอยด์มาก่อนเช่นกัน

การป้องกันคีลอยด์

   ในผู้ที่สังเกตตนเองว่ามีแนวโน้มจะเกิดแผลเป็นขึ้นหลังจากแผลหาย ควรหลีกเลี่ยงการสัก เจาะตามร่างกาย หรือการผ่าตัดศัลยกรรมใด ๆ ที่ไม่มีความจำเป็นจริง ๆ เพราะทั้งหมดนี้ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดคีลอยด์ตามมาได้ นอกจากนี้ หากเกิดแผลใด ๆ ขึ้นตามร่างกาย ควรรีบรักษาทันที เพื่อให้แผลนั้นหายเร็วขึ้นและมีโอกาสเกิดแผลเป็นน้อยลง

ขั้นตอนการรักษาแผลเพื่อช่วยป้องกันการเกิดคีลอยด์ ทำได้ดังนี้

​​​​​​​   ปิดแผลไว้เมื่อเกิดแผล โดยใช้วาสลีนทา ตามด้วยผ้าพันแผลปิดทับอีกที จากนั้นใช้เทปแปะยึดผ้าพันแผลหรือผ้าก๊อซไว้ให้เกิดแรงกดบนแผล และไม่ลืมล้างทำความสะอาดบริเวณดังกล่าวด้วยน้ำและสบู่ทุก ๆ วัน กรณีที่มีการเจาะหู ให้ใช้แผ่นแปะสำหรับติ่งหูเพื่อกดไว้ไม่ให้แผลเป็นเติบโตขึ้นมา

​​​​​​​   ใช้แผ่นเจลซิลิโคนแปะหลังจากแผลหายดีแล้ว เพื่อกดบริเวณดังกล่าวไว้ ป้องกันแผลเป็นเจริญเติบโตขึ้นมา โดยทำทุกวัน วันละ 12-24 ชั่วโมงต่อวัน เป็นระยะเวลา 2-3 เดือน ทั้งนี้เนื่องจากการเกิดแผลเป็นคีลอยด์นั้นใช้เวลาประมาณ 3 เดือน

​​​​​​​   ปกป้องบริเวณที่เกิดแผลจากแสงแดด เมื่อต้องเผชิญแสงแดดอาจป้องกันแผลด้วยผ้าพันแผล พลาสเตอร์ หรือทาครีมกันแดด ทำเช่นนี้เป็นเวลา 6 เดือนหลังจากการเกิดแผลหรือการเข้ารับผ่าตัด หากเป็นเด็กควรแปะไว้เป็นเวลานานถึง 18 เดือน นอกจากนี้ อาจใช้ครีมอิมิควิโมดทาหลังการผ่าตัดใด ๆ เพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็นขึ้นหรือลดโอกาสการเกิดคีลอยด์ขึ้นใหม่หลังการผ่าตัดออกไปแล้ว

   บทความดังกล่าวเป็นเพียงเทคนิคเล็กน้อยที่ช่วยลดเลือนรอยแผลเป็น ไม่ได้เป็นวิธีทั้งหมด ซึ่งทางพรีมาดอนน่าคลินิกเป็นสถาบันดูแลความงามทั่วเรือนร่าง พร้อมที่จะให้บริการและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลผิวพรรณโดยผ่านการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านความงาม ซึ่งมีเทคนิคการแพทย์ที่หลากหลายพร้อมให้บริการลูกค้าทุกๆท่าน